Content, Uncategorized

การตลาดออนไลน์ “นิยายแชท” แพลตฟอร์มสร้างรายได้ให้นักเขียน

Less than a minute to read
chatbook
   สำหรับคนที่มีอาชีพสายคอนเทนต์หรือนักเขียน แพลตฟอร์ม “นิยายแชท” เป็นแหล่งรายได้ที่ดีอีกทางของคุณได้เลยนะครับ ต้องบอกก่อนว่านิยายประเภทนี้เป็นอะไรที่วัยรุ่นอ่านเยอะมากกกกกก โดยเฉพาะเหล่าบรรดาแฟนคลับเกาหลี จริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่พัฒนามาจากการแต่งนิยายให้อ่านตามเว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์ในสมัยก่อนนู้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป พฤติกรรมการอ่านของนักอ่านออนไลน์ก็เริ่มเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย แม้จะยังมีคนชอบอ่านอะไรยาว ๆ อยู่ แต่ก็มีพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นคือคนจะชอบอ่านอะไรสั้น ๆ วิธีการนำเสนอคอนเทนต์แบบใหม่จึงเกิดขึ้น เป็นนิยายที่หน้าตาเหมือนกับเรากำลังอ่านแชทไลน์ของคนอื่นอยู่


Joylada

นิยายแชท, นิยายแชทวาย, นิยายแชท จอยลดา
Joylada


ReadAWrite

นิยายแชท, นิยายแชทวาย, นิยายแชท จอยลดา
ReadAWrite

    ผมได้เอาตัวอย่างของนิยายประเภทแชทจาก 2 แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยเราตอนนี้คือ Joylada (จอยลดา) และ ReadAWrite (รี้ดอะไรท์) ที่เรียกว่าเป็นนิยายก็เพราะว่ามันคือเรื่องราวที่แต่งขึ้นมาโดยวิธีเล่าจะไม่ใช่การบรรยายยาว ๆ แต่จะเป็นการสร้างบทสนทนาในรูปแบบแชทอย่างที่เห็น ให้อารมณ์เหมือนคุณกำลังอ่านแชทของคนอื่นอยู่นั่นแหละครับ ซึ่งแบบนี้ก็ได้อรรถรสไปอีกแบบและมันก็โดนใจนักอ่านบางกลุ่มโดยเฉพาะนักอ่านรุ่นใหม่วัยรุ่น

    มีอยู่ช่วงหนึ่งที่วดีเด็ด “พี่ดุนะ หนูไหวเหรอ” ถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ซึ่งที่มาก็มาจากนิยายประเภทแชทของจอยลดานี่แหละครับ เป็นประโยคหนึ่งที่ตัวละครในนิยายพูด นั่นก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เพิ่มความนิยมให้กับนิยายที่อ่านมากยิ่งขึ้น ด้วยความที่มันอ่านง่าย หน้าตาของแพลตฟอร์มน่าสนใจ ผมก็ไม่แปลกใจที่แพลตฟอร์มนี้จะได้รับความนิยม

“นักเขียน” คือ ผู้ผลิตคอนเทนต์นิยายคนสำคัญของแพลตฟอร์ม “แชท”
พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่านิยายประเภทแชทคืออะไร ทีนี้มาดูในเรื่องการหารายได้ของนักเขียนในแพลตฟอร์มนี้กันบ้างดีกว่า ทั้งสองแพลตฟอร์มที่ผมยกตัวอย่างมาจะมีระบบในการแบ่งรายได้ให้กับนักเขียน เหมือนอารมณ์ YouTube ที่แบ่งรายได้ให้กับเจ้าของช่อง หรือ Facebook ที่แบ่งรายได้ให้กับคนที่ผลิตคอนเทนต์วิดีโออะไรประมาณนั้นนั่นแหละครับ ซึ่งวิธีการแบ่งรายได้ของจอยลดาและรี้ดอะไรท์อาจจะแตกต่างกันตามนโยบายของบริษัท มีทั้งการนับตามยอดการอ่าน การบริจาค (Donate) ให้นักเขียนเป็นกำลังใจเล็ก ๆ น้อย ๆ การเก็บเงินสำหรับปลดล็อคนิยายบางบทที่เป็นตอนสำคัญ เป็นต้น ถ้าเขียนดีเขียนเก่งจริง มีฐานแฟนคลับ นักเขียนเหล่านั้นก็มีโอกาสที่จะได้รายได้จากตรงนี้โดยยึดเป็นอาชีพเลยก็ว่าได้นะครับ และถ้ากระแสตอบรับดีจริง ๆ ก็ยังมีการต่อยอดไปตีพิมพ์หรือจัดทำเป็น E-book เพิ่มช่องทางการจำหน่ายเป็นรายได้ได้อีก

“รายได้ของแพลตฟอร์ม มีหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจ”


มาที่ฝั่งของตัวแพลตฟอร์มเองบ้างว่ามีรายได้จากทางไหน ทำไมมีส่วนแบ่งให้กับนักเขียนได้ โดยเบสิกก็คือค่าโฆษณาที่ลงกับทางแพลตฟอร์มนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ในแพลตฟอร์มที่โฆษณาจะปรากฎได้ รวมไปถึงโฆษณาในหน้าอ่านนิยาย อย่างจอยลดาเนี่ยก็จะมีโฆษณาขึ้นก่อนที่จะเริ่มหรือจบในแต่ละบท ซึ่งตรงนี้ถ้านักอ่านรำคาญก็สามารถเติมเงินเข้าไปเหมือนอารมณ์ระบบสมาชิกเพื่อจะได้ปิดโฆษณาเหล่านี้ได้ คล้าย ๆ กับ YouTube Premium ที่ไม่ต้องรอดูโฆษณาอะไรประมาณนั้น ในส่วนของการเติมเงินเนี่ยแหละครับทางแพลตฟอร์มก็มีรายได้ตรงนี้ เป็นวิธีคิดที่น่าสนใจมากเพราะนอกจากจะมีรายได้จากโฆษณาแล้วยังมีรายได้ที่มาจากการเติมเงินของนักอ่านอีกด้วย ไหนจะการโดเนทให้นักเขียนอีก ไหนจะการปลดล็อคบทสำคัญ ๆ ที่ต้องเสียเงินอีก เหล่านี้คือรายได้หลัก ๆ ที่ผมเห็นในแพลตฟอร์มนิยายแชท

“นิยายแชท คือตัวอย่างในการปรับตัวอย่างเข้าใจ”


มองในแง่ของฝั่งเจ้าของแพลตฟอร์มเนี่ย ผมเห็นว่ามันเป็นวิธีการปรับตัวของวงการสิ่งพิมพ์ที่ดีมาก ๆ เลย นอกเหนือไปจากการขาย E-book แล้ว ก็มีการสร้างแพลตฟอร์มนิยายเหล่านี้แหละครับที่ทำให้สื่อที่เป็นตัวอักษรยังอยู่ได้ ทั้งเจ้าของสื่อและตัวนักเขียนเอง เพราะจริง ๆ แล้วจอยลดากับรี้ดอะไรท์ก็ไม่ได้มีแค่นิยายประเภทแชทแค่นี้นะครับ ยังมีนิยายที่เป็นการบรรยายอยู่ ซึ่งนั่นก็มีวิธีการสร้างรายได้ของแพลตฟอร์มและนักเขียนที่คล้ายคลึงหรือแทบจะเหมือนกันเลยกับนิยายประเภทแชทนี้ แต่ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดก็เพราะว่ามันดูเป็นสิ่งใหม่ที่น่าสนใจและฮิตในหมู่นักอ่านรุ่นใหม่มาก ๆ และวิธีการหารายได้ก็น่าสนใจ

    ยกตัวอย่างที่ต้องเติมเงินเพื่อปลดล็อคบทสำคัญ ก็ใช้เงินเพียงหลักสิบบาทซึ่งสำหรับวัยรุ่นแล้วก็มีกำลังพอที่จะจ่ายได้ แต่คุณคิดดูสำหรับนิยายดัง ๆ ที่ยอดอ่านเป็นหลักล้านจากรูปด้านบน จะมีรายได้เข้ามาขนาดไหน? นี่แหละครับคือการปรับตัวอย่างเข้าใจ

   สำหรับสายนักเขียน นอกเหนือจาก Joylada กับ ReadAWrite ก็ยังมีอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่น่าสนใจ ไม่ใช่นิยายประเภทแชทนะครับแต่เป็นการนำเสนอในคอนเทนต์ที่มีลักษณะสั้น ๆ คล้าย ๆ กับนิยายประเภทแชท เป็นคอนเทนต์ที่เป็น Fact หรือความเป็นจริง นั่นก็คือ Blockdit ลองเข้าไปดูไปลองอ่านเล่น ๆ ได้ครับสำหรับใครที่ไม่ถนัดแนวนิยาย อันนี้ก็เป็นการหารายได้ของนักเขียนคอนเทนต์ได้เช่นกัน

    ในยุคสมัยนี้ คนเราทุกคนต้องปรับตัวให้เร็วครับอย่างที่ผมบอกอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร สิ่งใหม่ ๆ มันเกิดขึ้นในทุกวัน ยิ่งรู้ยิ่งทำมาก โอกาสดี ๆ ที่คุณจะได้รับก็มากขึ้น อย่างนิยายประเภทนี้ก็เป็นตัวอย่างที่บอกได้ว่าทั้งตัวสิ่งพิมพ์เอง ตัวนักเขียนเอง เมื่อปรับตัวได้ยังไงก็อยู่รอด และรอดอย่างสวยงามด้วยนะครับ ใครที่สนใจอยากศึกษาเพิ่มเติมก็โหลดแอป Joylada และ ReadAWrite มาลองอ่านเพลิน ๆ ได้เลยครับผม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า