Online Marketing, TikTok

Challenge Marketing ทำยังไงให้แบรนด์น่าจำ

Less than a minute to read
Challenge Marketing

        จากตัวอย่างที่ผมยกมา พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่า Challenge กับ Marketing เนี่ยจะสามารถมาควบรวมกันได้อย่างไร อย่างที่บอกว่ายุคนี้ฮิตมาก ๆ โดยเฉพาะ Dance Challenge ของฝั่งไทยเราก็จะมี #wipwupchallenge ซึ่งเป็นการเต้นเพลงวิบวับของคุณป๊อก จิราธิวัฒน์ หรือ Pok Mindset กับ #ดี๊ดีchallenge อันนี้เป็นการตลาดที่น่าสนใจมากของเนสกาแฟครับ ผมมองว่าอันนี้เป็น Challenge Marketing ที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะไม่ได้มีแค่ชาเล้นจ์อย่างเดียว เขาขายทั้งสินค้า เพลง พรีเซ็นเตอร์ ด้วยวิธีการจับพรีเซ็นเตอร์วัยรุ่น 2 คน อย่าง เจเจ กฤษณภูมิ และ ไอซ์ พาริส มาร้องเพลงประกอบโฆษณาและเต้น โดยใช้เพลงที่เมโลดี้ติดหู ท่าเต้นที่สามารถเต้นตามได้ เรียกว่าผู้คนก็ร้องได้ เต้นตามได้กันทั่วบ้านทั่วเมือง แล้วก็โปรโมทสินค้าแบบจัดหนักจัดเต็ม

        ซึ่งทั้งหมดที่ผมยกตัวอย่างมาของประเทศไทยสามารถหาดูได้ที่แอป TikTok เลยครับ แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่มาแรงที่สุดในวินาทีนี้

        นอกจากนี้ยังมี #HandWashChallenge ของเดทตอลที่กำลังมาในช่วงวิกฤตโควิด เป็นแคมเปญที่ชวนให้คนมาทำท่าล้างมือประกอบเพลง อันนี้ก็ทำการตลาดอย่างหนักหน่วงมาก ก็จะเป็นกึ่ง Dance Challenge อยู่เหมือนกัน อันนี้ก็เป็นแคมเปญที่โด่งดังและจัดเต็มมากใน TikTok ครับ

วิธีการทำ Challenge Marketing ยังไงให้แบรนด์น่าจำ

       พอได้เห็นกรณีศึกษากันแล้วใช่ไหมครับ ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าการทำ Challenge Marketing เนี่ย ต้องทำยังไงบ้าง มีแนวคิดหรือหัวใจสำคัญอะไรบ้าง ผมได้สรุปมาเป็นข้อ ๆ จากประสบการณ์ของผม ดังนี้

1. ยิ่งแพร่กระจายไปหลายแพลตฟอร์มเท่าไหร่ยิ่งดีนะครับ ในยุคก่อนก็คงจะเป็น Facebook, Instagram, Youtube แต่ตอนนี้มีแพลตฟอร์มน้องใหม่มาแรงก็คือ TikTok ซึ่ง Dance Challenge ที่เกิดในปัจจุบันเนี่ยส่วนใหญ่มาจาก TikTok แทบทั้งนั้น

อีกข้อสังเกตคือ แทบจะทั้งหมดของ Challenge ที่ดัง ๆ มักจะเป็นคลิปวิดีโอสั้น ๆ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจเลยครับว่าทำไมใน TikTok ถึงทำชาเลนจ์ได้ดี และวิดีโอเนี่ยก็เป็นมีเดียที่มาแรงเสมอต้นเสมอปลาย แทบจะทุกแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ก็ให้ความสำคัญกับวิดีโอมาก ดังนั้นถ้าจะทำชาเลนจ์ในตอนนี้ แนะนำให้คิดออกมาเป็นรูปแบบของวิดีโอเลยครับ

Challenge ต้องสื่อถึงแบรนด์! มีหลายชาเลนจ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะจุดนี้แหละครับ คืออาจจะไวรัลแต่ไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าทำเพื่ออะไร คนก็จะจำแค่ว่าชาเลนจ์ทำอะไร แต่ไม่รู้เลยว่ามาจากไหน เท่ากับว่าแบรนด์ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

4. ต้องระวังดราม่า เป็นอะไรที่ต้องยอมรับกันว่าแทบทุกชาเลนจ์เจอดราม่า (แต่ Dance Challenge นี่ไม่ค่อยเจอนะครับ) ส่วนใหญ่จะเป็นชาเลนจ์ที่ให้ทำอะไรแปลก ๆ ตามกัน แม้กระทั่ง Ice Bucket Challenge เองก็เคยมีดราม่าว่าเป็นการสิ้นเปลืองน้ำโดยเปล่าประโยชน์ แต่เอาจริง ๆ ก็สามารถสร้างความตระหนักและได้เงินบริจาคสูงเลยทีเดียวนะครับ เรื่องดราม่าผมยอมรับเลยว่าเป็นอะไรที่ควบคุมได้ยากมาก แต่ในกระบวนการคิดก็เผื่อไว้หน่อยว่าจะเกิดดราม่าประมาณไหน จะป้องกันอย่างไร

ต้องง่ายที่สุด เพราะถ้ายากก็จะไม่มีคนทำตาม ถ้าไม่มีคนทำตามมันจะเกิดชาเลนจ์ไม่ได้เลยล่ะครับ ต้องง่ายทั้งวิธีการและความเข้าใจ อย่าซับซ้อนมาก ยิ่งทำให้คนทุกกลุ่มเข้าใจได้ยิ่งดีครับ มีโอกาสทำให้เกิดไวรัลสูง

       ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นไอเดียในการทำ Challenge Marketing ที่ผมได้รวบรวมมาฝากกัน ส่วนตัวผมมองว่าเป็นวิธีทำการตลาดที่เล่นกับความรู้สึก ความอยากมีส่วนร่วมของคนในออนไลน์ เรื่องลงทุนทางการเงินไม่สูงหรอกครับ แทบจะเป็นศูนย์ด้วยซ้ำถ้าคุณไม่ได้จ้าง Influencer แต่บอกเลยว่าเรื่องความคิดต้องลงทุนสูง คิดให้รอบ ถ้าไวรัลเมื่อไหร่ รับรองว่าแบรนด์ได้ประโยชน์เต็ม ๆ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า