Online Marketing

 วิธีจัด Promotion สร้าง Engagement รัวๆยอดขายงามๆ

1 min read
Engagement

        ถ้าจะว่ากันในเรื่องความหมายที่แท้จริงของคำว่า “โปรโมชัน” ในหลักของการตลาด ก็ต้องบอกว่ามันไม่ได้หมายความแค่ว่า ลด แลก แจก แถม เพราะถ้าให้แปลจริง ๆ Promotion มาจากคำว่า Promote ซึ่งในเรื่องของการตลาดก็จะแปลแบบได้ใจความว่า “การส่งเสริมทางการตลาด” แต่พวกลดแลกแจกแถมเนี่ยจะถูกเรียกว่า Sale Promotion หรือ “การส่งเสริมการขาย” ซึ่งก็จะเป็นซับเซ็ทของโปรโมชันนั่นเอง

        เพื่อความเข้าใจง่ายและกระชับสำหรับหัวข้อที่จะคุยกันวันนี้ ผมขอเรียกว่าโปรโมชันก็แล้วกันนะครับ (ถึงแม้ว่ามันจะเอนเอียงไปในทำนองเซลล์โปรโมชันเสียส่วนใหญ่) จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมเชื่อว่าสินค้าในทุก Segment เมื่อจัดโปรโมชันแล้วจะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าปกติแน่นอน เพราะการทำโปรโมชันนั้นช่วยดึงดูดความต้องการในสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ได้อยู่แล้วตามหลักจิตวิทยา โดยสินค้าแต่ละ Segment ก็จะมีการจัดโปรโมชันที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์และต้นทุนของแบรนด์เป็นหลัก เช่น ถ้าสินค้า Hi-end การจัดโปรโมชันลดราคากระหน่ำคงไม่เหมาะกับภาพลักษณ์ อาจจะใช้เป็นวิธีสร้างเงื่อนไขสำหรับลูกค้าที่ใช้จ่ายถีงยอดขั้นต่ำเพื่อให้ความรู้สึก Privilege กับลูกค้ากลุ่มที่มีกำลังซื้อ หรือถ้าเป็นสินค้าราคาถูกต้องซื้อซ้ำบ่อย ก็จัดลดแลกแจกแถมไปตามไตรมาส เป็นต้น

        โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อจัดโปรโมชัน สิ่งที่แบรนด์จะได้ก็จะเป็นประมาณว่า ได้ Brand Awareness / ได้ Brand Loyalty / ได้ Traffic ของลูกค้า / กระตุ้นการตัดสินใจซื้อให้เร็วขึ้น / เข้าใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น เป็นต้น

        เกริ่นมาซะยืดยาวก็เพื่อจะให้เข้าใจคอนเซ็ปต์ของคำว่าโปรโมชันนั่นเอง ทีนี้มาว่ากันในเรื่องของโปรโมชันสำหรับฝั่งการตลาดออนไลน์ที่ผมจะพูดถึง ผมจะเน้นไปในการทำโปรโมชันเพื่อ Engagement เป็นหลักนะครับ เพราะมันคือการทำโปรโมชันที่คุณทำได้เองโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาให้กับ Social Media ใด ๆ เลย เหมือนเป็นการ “โปรโมทฟรี” โดยมีต้นทุนเป็นไอเดียนั่นเองครับ

รู้วิธีจัด Promotion เพื่อสร้าง Engagement

        จริง ๆ แล้วการจัดโปรโมชันในการตลาดออนไลน์นั้นมีหลายระดับมากครับ แต่อย่างที่บอกว่าผมจะเน้นในระดับสร้าง Engagement เพื่อเพิ่ม Awareness ให้คนรู้จักสินค้าหรือแบรนด์ของคุณให้เยอะที่สุด หรือสร้างความสนิทกับลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด ส่วนยอดขายนั้นเป็นผลพลอยได้ในการทำโปรโมชันครับ

        แนวคิดหลัก ๆ ก็คือ จัดโปรโมชันให้น่าสนใจเพื่อเรียกยอด Engagement ต่าง ๆ โดยใช้ Social Media เป็นเครื่องมือหลัก และแม้ผมจะบอกว่ายอดขายนั้นเป็นผลพลอยได้ แต่เชื่อเถอะครับว่าคุณจะพอใจและรู้สึกคุ้มค่ากับผลพลอยได้ตรงนี้มาก ๆ

ช่องทาง Social Media ที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจไทย

มีอะไรบ้าง ทำเพื่ออะไร?

        อย่างที่ผมบอกไปว่ายิ่งมีช่องทางมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น แต่ข้อสำคัญคือคุณต้องดูแลได้อย่างทั่วถึงด้วยนะครับ นั่นก็จะสามารถเปิดโอกาสสำหรับลูกค้าจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้อย่างเต็มกำลัง

        จากกราฟด้านบน (ดูเฉพาะ TOP 5) จะเห็นได้ว่าคนไทยยังคงใช้งาน Facebook เป็นอันดับ 1 และตามมาติด ๆ ก็คือ YouTube ที่มียอดผู้ใช้งานค่อนข้างสูสีกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยครับเพราะช่วงปีที่ผ่านมา (2019) ตลาด Vlogger เป็นอะไรที่คึกคักมาก ต่อมาก็คือ LINE, Instagram และ Twitter ตามลำดับ (ผมข้าม Facebook Messenger ไป เนื่องจากนับรวมเป็นแพลตฟอร์มเดียวกับ Facebook นะครับ) ทีนี้ลองมาดูกันครับว่า ในแต่ละช่องทาง เมื่อคุณทำโปรโมชันกับแพลตฟอร์มนั้น ๆ คุณจะได้อะไรกลับมาบ้าง โดยผมจะเน้นไปที่จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มเป็นหลักนะครับ

Facebook – สร้าง Engagement ทำให้หน้าแพลตฟอร์มดูมีความ Official น่าเชื่อถือ เพจไม่ร้าง แถมยังมีข้อมูลลูกค้าบางส่วนที่เก็บได้จาก Facebook เพื่อมาทำ CRM และ Retargeting

YouTube – ตัวนี้ผมต้องอธิบายก่อนว่าสำหรับในความเห็นผมแล้ว ถ้าคุณเน้นขายของ อาจจะมี Channel ไว้เพียงโชว์ VDO เกี่ยวกับสินค้าของคุณ แต่ถ้าในเรื่องของโปรโมชันต่าง ๆ แนะนำให้ดีลกับ Vlogger, Influencer หรือ KOL จะดีกว่าครับ

LINE – สร้างยอด Follow ด้วยการจัดโปรดึงดูดครับ ผมย้ำเสมอว่าการใช้ไลน์สื่อสารกับลูกค้า เป็นวิธีการที่ค่อนข้างสนิทสนมกับลูกค้ามากที่สุด ดูสิครับว่าคนชอบใช้ไลน์มากกว่าคุยอินบ๊อกซ์เฟสบุคถึง 12% เลยทีเดียว

Instagram – สร้าง Engagement โดยมากจะเน้นที่สตอรี่ มีฟีเจอร์มากมายให้เล่นสำหรับ IG Story

Twitter – จุดเด่นคือ Hashtag และ Retweet (รีทวีตเป็นเหมือนกับการกดแชร์ของเฟส) การปั่นยอด 2 อย่างนี้จะช่วยเพิ่ม Awareness ส่งต่อไปเรื่อย ๆ เลยครับ

โปรโมชันสำหรับแต่ละธุรกิจ แพลตฟอร์มไหน ควรจัดโปรแบบไหน?

        ผมได้แนะนำแนวคิดในการเลือกทำโปรโมชันกับ Social Media ของคนไทยไปแล้ว ก็คงจะพอเห็นภาพขึ้นมาบ้างใช่ไหมครับว่าควรจะจัดโปรโมชันไปในเชิงไหนดี ซึ่งผมก็อยากจะให้เห็นภาพมากกว่านั้นครับด้วยการยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมเลยว่าแต่ละแพลตฟอร์มควรจะจัดโปรโมชั่นแบบไหนให้เหมาะกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในแต่ละที่ ผมพยายามจะยกตัวอย่างธุรกิจให้มีความหลากหลายนะครับ เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจของคุณ

ธุรกิจร้านอาหาร x Facebook Promotion :

ถ่ายรูปเมนูอาหารที่กินที่ร้าน แล้วคอมเมนต์ใต้โพสต์ที่ปักหมุด รับฟรีของหวานสุ่มสุดพิเศษ

ธุรกิจกระเป๋าหนัง x YouTuber x Website :

        อันนี้จะพิเศษนิดนะครับ เป็นโปรโมชันที่ใช้ YouTuber ในการกระจาย Awareness โดยเงื่อนไขไม่ซับซ้อน เหมือนจ้างยูทูปเบอร์รีวิวสินค้า แล้วถ้าสั่งซื้อผ่าน Website โดยใส่โค้ดจากยูทูปเบอร์คนนั้น ๆ ก็จะได้รับส่วนลดสำหรับกระเป๋าหนัง New Arrival หรือถ้าไม่มีเว็บไซต์ก็ลองใช้ใน E-Marketplace อย่าง Shopee, Lazada อะไรพวกนี้ก็ได้ สิ่งที่คุณจะได้แน่ ๆ คือ ข้อมูลความสนใจของลูกค้าเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อ แถมยังได้รู้อีกว่าควรจะใช้ Influencer แนวไหนให้เหมาะกับสินค้า รวมไปจนถึงกระตุ้นให้สั่งซื้ออีกด้วยครับ (วิธีนี้ต้องคำนวณราคา Influencer ดี ๆ นะครับ)

ธุรกิจครีมออร์แกนิค x LINE :

        ให้แอด Line Official Account เพื่อสั่งของ แล้วเข้ากลุ่ม Line Square ลูกค้าจะได้รับฟรี Tester ครีมสูตรใหม่ 1 ซอง โดยเสนอสูตรที่เหมาะกับผิวของลูกค้า งานนี้ CRM รัว ๆ ทั้งความใกล้ชิด การดูแลหลังการขาย การสร้างคอมมูนิตี้ รวมไปจนถึงข้อมูลลูกค้าอย่างสภาพผิวเพื่อนำมาเก็บสถิติอีกด้วย

ธุรกิจอุปกรณ์ออกกำลังกาย x Instagram :

        ให้ลูกค้าโพสต์ IG Story รีวิวสินค้า พร้อมแทกร้าน รับเทรนเนอร์ด้านอาหารไปดูแลผ่านไลน์ฟรี 1 เดือน

ธุรกิจอุปกรณ์เสริมสำหรับมือถือ x Twitter :

        Retweet พร้อมใส่ Hashtag แล้วกดหัวใจ สุ่มแจก เคสแอร์พอตสุดน่ารัก

        ถ้าสังเกตจากตัวอย่างที่ผมได้ยกไป Engagement ที่ได้มันไม่ใช่แค่การไลค์แชร์เมนต์แค่นั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงการคลิก การเล่นกับแฮชแทก การเชื่อมแพลตฟอร์มต่อแพลตฟอร์ม รวมไปจนถึงการจัดโปรโมชั่นให้มีความเชื่อมโยงระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ เพราะคำว่า Engagement มันก็คือแอคชั่นต่าง ๆ ที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ต่อแบรนด์ของคุณนั่นเอง

        ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละโปรโมชั่นคุณต้องคิดให้รอบด้าน ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ให้ดี เลือกเครื่องมื่อในการใช้ให้เหมาะสม และคอยประเมินผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างที่ผมยกไปก็ลองไปปรับใช้ได้นะครับ ค่อย ๆ ทำเป็นโปรเล็ก ๆ ก่อน จนมองเห็นทิศทางในการทำงานของโปรโมชั่น จากนั้นค่อย ๆ ขยายเป็นแคมเปญที่ใหญ่ขึ้น เมื่อคุณมีประสบการณ์จากการทำโปรเล็ก ๆ มาก่อน พอขยายสเกล คุณก็จะสามารถคุมงบได้มากกว่าการที่เริ่มมาแล้วทำใหญ่เลย ลองดูนะครับ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า